เคมีไฟฟ้าและน้ำกระตุ้นไฟฟ้า

เคมีไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าและปฏิกิริยาเคมีและการแปลงพลังงานร่วมกันของเคมีและไฟฟ้า

เทคโนโลยีน้ำกระตุ้นไฟฟ้า (EW – Electrolyzed) ขึ้นกับพื้นฐานของกฎใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของปฏิกิริยาและความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาของสารละลายด้วยเคมีไฟฟ้าขั้วเดียว (แอโนดหรือแคโทด) น้ำกระตุ้นไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเปลี่ยนรูปขององค์ประกอบทางเคมีทั้งความเป็นกรดและ (หรือ) ความเป็นด่างภายในวงกว้าง

นั่นคือสาเหตุที่การใช้น้ำกระตุ้นไฟฟ้าได้ผล:

  • เพื่อแยกการผลิตให้หลุดจากกระบวนการทางเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมในการควบคุมคุณสมบัติน้ำยาที่มีส่วนผสมราคาแพง
  • เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสารบำบัดน้ำ
  • เพื่อลดจำนวนและระยะเวลาในการดำเนินงานด้านเทคโนโลยี
  • เพื่อลดการใช้แรงงาน
  • เพื่ออำนวยความสะดวกและลดความซับซ้อนของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

ซึ่งแตกต่างจากปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าทั่วไป กระบวนการของเคมีไฟฟ้าเริ่มจากการใช้สารละลายน้ำเกลือเจือจางและน้ำประปาเป็นหลัก ผลิตภัณฑ์น้ำกระตุ้นไฟฟ้าไม่มีสารเคมีผสมอยู่ แต่เป็นสารละลายแอโนไล้ท์กับแคโทไล้ท์: ของเหลวแร่ธาตุต่ำในสถานะคงตัวน้อย, ปฏิกิริยาทางเคมีที่เพิ่มขึ้น การสังเคราะห์สารละลายกระตุ้นไฟฟ้าจะเป็นไปได้ต่อเมื่อเคมีไฟฟ้าขั้วเดี่ยวสัมผัสกับการบำบัดน้ำปริมาตรขนาดเล็กในสนามไฟฟ้าแรงดันสูงของชั้นไฟฟ้าสองชั้นใกล้กับพื้นผิวของขั้วไฟฟ้า

เงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างต้นของการผลิตสารละลายจะเกิดได้เฉพาะในเซลล์ไดอะแฟรมแบบพิเศษ (วงกลมหรือสี่เหลี่ยม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องเอ็นไวโรไล้ท์หรือเครื่อง ECO ทุกเครื่อง

ภาพวาดหลักการทำงานของเครื่องเอ็นไวโรไล้ท์

สารละลายกระตุ้นไฟฟ้าที่ผลิตด้วยเครื่องเอ็นไวโรไล้ท์ (แอโนไล้ท์กับแคโทไล้ท์) จะไหลไปตามช่องที่กั้นด้วยแผ่นเมมเบรนซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้มีการกระจายของอิเล็กโทรไลต์ (น้ำเกลือ) ในปริมาตรของช่องผ่านและลดความเสี่ยงของการก่อตัวในพื้นที่บางส่วนเมื่อมีการไหลของอิเล็กโทรไลต์สูง อีกทั้งการกั้นด้วยแผ่นไดอะแฟรมทำให้การผลิตน้ำยาด้วยเคมีไฟฟ้าและปฏิกิริยาทางเคมีจากช่องผ่านมีประสิทธิภาพสูง